วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deductive Method)

       http://skruteachingmethods.blogspot.com/p/blog-page_22.html ได้กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การนิรนัยไว้ว่า เมื่อกล่าวถึงหลักการและทฤษฎีการสอน  ผู้สอนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและซับซ้อนต่อการเรียน  ผู้สอนส่วนใหญ่จึงเน้นหนักด้านการเรียนการสอนโดยอธิบายรายละเอียดให้ผู้เรียนได้ทราบก่อน  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  การสอนโดยให้ผู้เรียนได้รู้ถึงหลักการและทฤษฎีก่อนนั้น  จะทำให้ผู้เรียนได้มีความรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนอธิบายโดยละเอียด  เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้จากทฤษฎีเหล่านั้นนำมาแตกย่อยเป็นตัวอย่างได้โดยง่าย  เพียงแค่นึกถึงตัวหลักการหรือทฤษฎีก็จะเข้าใจรายละเอียดได้โดยที่ไม่ต้องจำจากตัวอย่าง  ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความคิดที่เกิดจากหลักการได้อย่างถูกต้อง
       สำหรับการเรียนการสอนแบบนี้เรียกว่า  วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย  หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วิธีสอนแบบอนุมัย  ซึ่งใช้ตั้งแต่สมัยเพลโต  (Palto)  โดยเป็นการสอนที่เริ่มจากกฎเกณฑ์หรือหลักการต่างๆ  แล้วหาเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน  วิธีสอนแบบนี้จะช่วยฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่าย   จนกว่าจะสามารถพิสูจน์กฎเกณฑ์หรือหลักการที่ได้เรียนรู้เสียก่อน (ไสว ฟักขาว, 2544 : 96)
       ในบทนี้กล่าวถึง  ความหมาย­ของวิธีสอนโดยใช้การนิรนัย  จุดมุ่งหมาย  องค์ประกอบ ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การนิรนัย   ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้วิธีสอนแบบนิรนัย  รวมไปถึงการสรุปท้ายบทเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนได้ยิ่งขึ้น  จะได้นำไปเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมและคำถามท้ายบทด้วย

ความหมาย
       สำหรับความหมายของการสอนโดยใช้การนิรนัย นักการศึกษาได้กล่าวไว้หลายทัศนะ ดังนี้
       ทิศนา  แขมมณี (2550 : 337) อธิบายว่า วิธีการสอนโดยการใช้นิรนัย คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี  หลักการ  กฎ  หรือข้อสรุปในเรื่องที่เรียน  แล้วจึงใช้ตัวอย่างการใช้ทฤษฎี/หลักการ/กฎ  หรือข้อสรุปนั้นหลาย ตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนำทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปในสถานการณ์ใหม่   ที่หลากหลาย  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในทฤษฎี/หลักการ/กฎ  หรือข้อสรุปนั้น   อย่างลึกซึ้งขึ้น  หรือกล่าวสั้น ว่าเป็นการสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อย
       เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540 : 280) กล่าวว่า  การสอนแบบอนุมานหรืออนุมัยหรืออนิรมัย  หมายถึง  การสอนจากกฎหรือหลักเกณฑ์ไปหาตัวอย่าง  หรือการสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย  กล่าวคือ  ให้ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์  หลักการ  สูตร  นิยาม  ทฤษฎี  ข้อเท็จจริง  หรือข้อสรุปต่าง   เสียก่อนแล้วจึงให้ตัวอย่างประกอบหรือพิสูจน์ทดลองให้เห็นจริง  ตัวอย่างเช่น  สอนคำใหม่  คำว่า  “ไก่”  ให้อ่านเป็นคำแล้วมาแยกเป็นพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  หรือใช้สูตรพื้นที่สามเหลี่ยมแล้วมาแทนค่าสูตรหรือให้ความหมายของคำว่า  “สสาร”  แล้วจึงยกตัวอย่างของสสาร  เป็นต้น  เป็นวิธีสอนที่ตรงข้ามกับวิธีสอนแบบอุปมาน  
       จำเริญ  ชูช่วยสุวรรณ (2544 : 73) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า วิธีสอนแบบนิรนัยหรือแบบอนุมาน  เป็นวิธีสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย หรือจากกฎเกณฑ์หรือทฤษฎี  ไปหาตัวอย่าง  คือ  เวลาสอนครูเริ่มต้นด้วยทฤษฎี  หรือกฎเกณฑ์ก่อนแล้วจึงยกตัวอย่าง  หรือให้รายละเอียด  เพื่อสนับสนุนกฎเกณฑ์นั้น  หรือเพื่อให้ทฤษฎีนั้น เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น 
       สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 65)  กล่าวว่า วิธีสอนแบบนี้  เป็นการสอนที่เริ่มจากทฤษฎีหรือหลักการต่าง แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน  วิธีสอนแบบนี้หัดฝึกให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่าย   จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน 
       อินทิรา  บุณยาทร (2542 :105)  ได้กล่าวไว้ว่า วิธีสอนแบบนิรนัย  คือ  การสอนที่เริ่มจากให้ผู้เรียนรู้จักกฎ  หรือหลักการต่าง ความจริงโดยทั่ว ไปก่อน  แล้วจึงสอนรายละเอียดทีหลัง  อาจทำโดย  ให้ผู้เรียนทดลองคิด  ค้นหา  ศึกษาข้อมูลรายละเอียดมาพิสูจน์ยืนยันด้วยเหตุผล  พร้อมทั้งคำแนะแนวทางจากผู้สอนประกอบสรุปเป็นความเข้าใจ 
       จากความหมายทั้งหมดที่กล่าวมา  สรุปได้ว่า  การสอนแบบนิรนัย หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงหลักการหรือทฤษฎีโดยทั่วไปก่อนที่ผู้สอนจะให้รายละเอียดหรือยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงหลักการนั้นๆ  นั่นคือเป็นวิธีสอนจากส่วนรวมไปสู่ส่วนย่อยนั่นเอง 

จุดมุ่งหมายของวิธีสอนแบบนิรนัย
       สำหรับจุดมุ่งหมายของวิธีสอนแบบนิรนัย ได้มีนักการศึกษาเสนอแนะความคิดเห็น ไว้ดังนี้
       
       ทิศนา  แขมมณี (2550 : 337) ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของวิธีการสอนโดยใช้การนิรนัยว่า  เป็นวิธีที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หลักการและสามารถนำหลักดังกล่าวไปใช้ได้  อยากแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
              1. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการเป็นคนมีเหตุผล
              2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้กฎ  สูตร  และหลักเกณฑ์ต่าง   ในการแก้ปัญหา
              3. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างรอบคอบ  ไม่ตัดสินใจทำสิ่งต่าง   ไปโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักเกณฑ์เพียงพอกับความถูกต้อง 
            
       เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540 : 281) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในของวิธีสอนโดยใช้นิรนัยไว้ว่า
               1. เพื่อให้ผู้เรียนนำเอากฎ  สูตร  นิยาม  ทฤษฎีไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา
            2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักยับยั้งในการตัดสินใจ  จนกว่าจะได้พิสูจน์ความจริงต่าง หรือวิเคราะห์อย่างถ่องแท้แล้ว
  3. เพื่อแก้ข้อบกพร่องของผู้เรียนซึ่งมักจะรีบด่วนสรุปสิ่งต่าง   อย่างรวดเร็วและง่าย โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใด
             
       ไสว ฟักขาว (2544 : 96) ได้กล่าวเสริมว่า วิธีสอนโดยใช้นิรนัยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ดังนี้ คือ
              1. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักนำกฎ  สูตร  และหลักการต่าง   ไปอ้างอิงในการแก้ปัญหา  ได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล
              2. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้เหตุผลมาประกอบการพิสูจน์ความรู้ต่าง   ก่อนจะตัดสินใจเชื่อว่าถูกต้อง
       
       สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544  : 105)  ได้กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการสอนโดยใช้นิรนัยเพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้กฎ  สูตร  และหลักเกณฑ์ต่าง   มาช่วยในการแก้ปัญหา  ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่าย   จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน 
       
       สรุปได้ว่า การสอนโดยการใช้นิรนัยมีจุดมุ่งหมายหลัก  คือ
1. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้จากหลักการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำหลักการที่ได้เรียนรู้มาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้เหตุผลมาประกอบการพิสูจน์ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
5. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้แก้ไขข้อบกพร่องอันเกิดจากข้อผิดพลาดได้อย่างทันท่วงที
       ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนที่ดีมีเหตุผลพร้อมเผชิญกับปัญหาและแก้ไข
ปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของตนเองได้เป็นอย่างดี
             
องค์ประกอบของการสอนแบบนิรนัย 
       ทิศนา  แขมมณี (2550 : 337) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบนิรนัย ดังนี้
       1. มีผู้สอนผู้เรียน
       2. มีทฤษฎี / หลักการ / กฎ  หรือข้อสรุปต่าง
       3. มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย  ที่สามารถนำทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นนำไปใช้ได้
       4. มีการฝึกนำทฤษฎี / หลักการ / กฎ  หรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
       5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลักการไปใช้


ขั้นตอนของวิธีสอนโดยใช้การนิรนัย
       ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอนโดยใช้การนิรนัย มีดังนี้ (ทิศนา  แขมมณี, 2550 : 337)
       1. ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ / ทฤษฎี / หลักการ / กฎ / ข้อสรุปที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  ด้วยวิธีการต่าง   ตามความเหมาะสม
       2. ผู้สอนให้ตัวอย่างสถานการณ์หลากหลายที่สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปใช้
       3. ผู้สอนให้ผู้เรียนปฏิบัตินำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
       4. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
       5. ผู้สอนวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

              สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540 : 132-133)  ได้กล่าวถึงลำดับขั้นการสอนแบบนิรนัย  ไว้ว่า การสอนแบบนิรนัย  เป็นการสอนที่มีรายละเอียดตรงข้ามกับวิธีอุปนัย  กล่าวคือวิธีสอนแบบนี้จะเริ่มจากกฎ  หรือหลักการต่าง แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันหาข้อมูล  หลักฐานและข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ยืนยันกฎ  หรือหลักการนั้น   ว่าถูกต้องหรือไม่  หรือกล่าวได้ว่าการสอนวิธีนี้เป็น   การสอนโดยเริ่มจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย  ส่วนการสอนโดยวิธีอุปนัยเป็นการสอนจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวมนั่นเอง 
              สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 66) ได้อธิบายขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย มีดังนี้ 
            1. ขั้นอธิบายปัญหา  ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  (เช่น  เราจะหาพื้นที่ของวงกลมได้อย่างไรปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริงของชีวิต  และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
              2. ขั้นอธิบายข้อสรุป  ได้แก่  การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า  1  อย่าง  มาอธิบาย  เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
              3. ขั้นตกลงใจ  เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป  กฎ หรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
              4. ขั้นพิสูจน์  หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ  เป็นขั้นที่สรุปกฎหรือนิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่  โดยการปรึกษาครู  ค้นคว้าจากตำราต่าง   และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
              เสริมศรี  ลักษณศิริ (2540  :  281) ได้เสนอขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัยไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
            1. ขั้นเตรียม   เป็นการเตรียมบทเรียน  เตรียมการสอน  นำเข้าสู่บทเรียน  เร้าความสนใจของผู้เรียน  ทบทวนความรู้เดิม  เพื่อให้สัมพันธ์กับความรู้ใหม่  อธิบายความมุ่งหมายให้ผู้เรียนเข้าใจ  อาจจะทำในรูปของปัญหาก็ได้
              2. ขั้นสอน  ผู้สอนนำกฎ สูตร นิยาม  ฯลฯ มาอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจแล้วเขียนข้อสรุปนั้น ลงบนกระดานชอล์ก  แล้วยกตัวอย่างหรือทำการพิสูจน์ให้เห็นจริง  และให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วย
              3. ขั้นสรุป  ผู้เรียนสรุปได้ว่า  สิ่งที่ผู้สอนอธิบายนั้นเป็นความจริงทุกประการตามที่ผู้สอนได้บอกไว้  ข้อสรุปที่ได้นับว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
              4. ขั้นนำไปใช้  ผู้เรียนนำข้อสรุปนั้น   ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน  หรือใช้ในการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม  เพื่อช่วยให้เกิดทักษะและเข้าใจดียิ่งขึ้น
              นอกจากนี้  ไสว ฟักขาว (2544 : 97)  ได้กล่าวว่า การสอนแบบอนุมาน สามารถแบ่งขั้นตอนการสอนออกเป็น 4 ขั้นตอน  ดังนี้
              1. ขั้นอธิบายปัญหา  เป็นขั้นที่ครูระบุสิ่งที่จะสอนในรูปของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
              2. ขั้นอ้างหลักการ  เป็นขั้นที่ครูนำหลักการ  กฎ  หรือทฤษฎีต่าง   มาอ้างเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
              3. ขั้นอธิบาย  เป็นขั้นที่ครูอธิบายความเป็นมาของหลักการ  กฎ  หรือทฤษฎีต่าง และขั้นตอนการนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
              4. ขั้นตรวจสอบ  เป็นขั้นที่ครูให้ผู้เรียนตรวจสอบว่า  หลักการที่นำมาอ้างนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจให้ผู้เรียนทดลอง  ค้นคว้าจากตำราต่าง หรือขอคำแนะนำจากครู

               จากที่นักวิชาการหลายท่านได้อธิบายขั้นตอนของการสอนโดยใช้การนิรนัย  สรุปได้ว่า  การสอนโดยใช้การนิรนัย มีขั้นตอนการสอนดังนี้
1. ขั้นเตรียม หรือขั้นอธิบายปัญหา เป็นขั้นที่ผู้สอนจะต้องนำสู่บทเรียนโดยเร้าความสนใจของผู้เรียน  ซึ่งจะต้องเตรียมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
2. ขั้นสอน   ผู้สอนจะต้องอธิบาย และสรุปกฎเกณฑ์ หลักการ หรือทฤษฎี ให้ผู้เรียนได้
เข้าใจ  พร้อมกับยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เห็นจริง
3. ขั้นสรุป   เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องสรุปกฎเกณฑ์และทฤษฎี จากสิ่งที่ผู้สอนได้อธิบายไว้ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาไว้อย่างถูกต้อง
4. ขั้นนำไปใช้  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสิ่งที่ผู้สอนได้อธิบายไว้ว่าสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้หรือไม่

เทคนิคและข้อเสนอแนะของขั้นตอนการสอนโดยใช้การนิรนัย  
              ทิศนา แขมมณี (2550 : 338)  อธิบาย  เทคนิคและข้อเสนอแนะของขั้นตอนการสอนโดยใช้การนิรนัย ไว้ว่า
              1. การเตรียมการ  ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจในทฤษฎี / หลักการ / กฎ / ข้อความรู้ / ข้อสรุป  ที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียน  และหาวิธีที่เหมาะสมในการถ่ายทอดหรือนำเสนอเนื้อหาสาระเหล่านั้นแก่ผู้เรียน  นอกจากนั้น  ครูจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างที่ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหาสาระเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จ  ตัวอย่างควรเป็นสถานการณ์ที่มีความหลากลหาย  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่ชัดเจน
              2. การนำเสนอข้อความรู้ / ทฤษฎี / หลักการ / กฎ / ข้อสรุป แก่ผู้เรียน  ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่จะสอนเป็นอย่างดี  รวมทั้งหาวิธีการที่เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาสาระเหล่านั้นให้แก่ผู้เรียน  จนกระทั่งผู้เรียนเกิดความเข้าใจ  เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความเข้าใจเพียงพอ  ผู้สอนควรทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนก่อนให้ฝึกใช้ความรู้
              3. การนำเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้  เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความรู้ / ทฤษฎี / หลักการ / กฎ / ข้อสรุป  ที่ให้พอสมควรแล้ว  ผู้สอนควรให้ผู้เรียนฝึกการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่   ซึ่งจะมีความหลากหลายพอสมควรเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น

ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบนิรนัย

              สำหรับข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบนิรนัย นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
          ทิศนา  แขมมณี (2550 : 338) กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบนิรนัย ไว้ดังนี้

            ข้อดี
            1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
              2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำทฤษฎี / หลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
              3. เป็นวิธีสอนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนา  โดยไม่ต้องรอผู้เรียนรู้ได้ช้ากว่า

            ข้อจำกัด 
            1. เป็นวิธีการที่ผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่าง / สถานการณ์ / ปัญหาที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนได้ฝึกทำ
              2. เป็นวิธีสอนที่ขึ้นกับความเข้าใจและความสามารถของผู้สอนในการนำทฤษฎี  หลักการ
              3. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า  อาจจะตามไม่ทันเพื่อนและเกิดปัญหาในการเรียนรู้

              เสริมศรี  ลักษณศิริ ( 2540 : 281) กล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของวิธีสอนแบบนิรนัย  ไว้ดังนี้
              ข้อดี
            1. เป็นวิธีที่ง่ายกว่าและเสียเวลาน้อยกว่าวิธีสอนแบบอนุมาน
              2. ใช้สอนเนื้อหาวิชาที่ง่าย หรือหลักเกณฑ์ต่าง ได้ดี
              3. ผู้สอนไม่ต้องใช้เทคนิคการสอนมาก
              4. เป็นการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางเป็นส่วนใหญ่
              5. หลักเกณฑ์ต่าง   ที่อธิบายโดยใช้วิธีสอนแบบนี้  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ดี
              ข้อเสีย
            1. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะผู้ที่มีสติปัญญาปานกลางและอ่อน  จะเข้าใจได้ยาก
              2. ใช้สอนได้ดีเฉพาะบางเรื่อง  เช่น  การสอนอ่านสำหรับผู้เริ่มเรียนที่สอนให้อ่านเป็นคำก่อนแล้วจึงผสมอักษรทีหลัง  หรือการสอนคำใหม่  เป็นต้น
              3. ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้  และคุณค่าทางอารมณ์

              ในการสอนควรนำวิธีสอนแบบอุปมานและอนุมานมาใช้ร่วมกันจะทำให้การสอนได้ผลดียิ่งขึ้น  เพราะวิธีสอนแบบอนุมานเป็นวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้เห็นรายละเอียดและคิดค้นด้วยตนเองสรุปเป็นกฎเกณฑ์  ส่วนวิธีสอนแบบอนุมานใช้กฎเกณฑ์ที่วางไว้แล้วไปหารายละเอียด  ดังนั้นควรสอนให้คิดหาเหตุผลจนเข้าใจแล้วจึงสรุปเป็นเกณฑ์หรือสูตร  ต่อจากนั้นก็ตรวจสอบดูกฎเกณฑ์หรือสูตรให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่าง   การรวมการสอนทั้งสองวิธีเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เกิดความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น  ได้ความรู้จากการค้นคว้าทดลอง และสามารถฝึกหาเหตุผลในกรณีต่าง ได้
              สำหรับ จำเริญ  ชูช่วยสุวรรณ (2544 : 58)  ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีของการสอนแบบนิรนัย  ไว้ว่า วิธีสอนแบบนี้จะฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่าย  จนกว่าจะได้พิสูจน์ให้เห็นจริง   และได้กล่าวถึงข้อจำกัดของการสอนแบบนิรนัยว่า เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนน้อย  เพราะครูเป็นผู้แสดงเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ครูเตรียมทฤษฎีมา  แล้วพิสูจน์ให้นักเรียนได้เห็นจริง  เป็นต้น 
               สุพิน  บุญชูวงศ์  (2544 : 66) ได้กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบนิรนัยไว้ ดังนี้
            ข้อดี
            1. วิธีสอนแบบนี้เหมาะที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย หรือหลักเกณฑ์ต่าง จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี  และเป็นวิธีสอนที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัย
              2. ฝึกให้เป็นคนมีเหตุมีผล  ไม่เชื่ออะไรง่าย โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
             

              ข้อจำกัด
            1. วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา  ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์
              2. เป็นการสอนที่นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง  เพราะครูกำหนดความคิดรวบยอดให้
              ไสว ฟักขาว (2544 : 98)  ได้กล่าวว่าข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบอนุมาน  มีดังนี้
             
            ข้อดี
              1. เป็นวิธีที่เหมาะกับเนื้อหาที่มีกฎเกณฑ์  จะทำให้สามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายและใช้เวลาไม่มาก
              2.  เป็นวิธีที่ช่วยฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล  ลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
             
            ข้อจำกัด
              1. ใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา
              2. ไม่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้
              3. ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้สร้างมโนทัศน์ (Concept) ในหลักการที่นำมาอ้างด้วยตนเอง เพราะครูจะเป็นผู้กำหนดให้
              นอกจากนี้ อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 106) ได้ให้ความคิดเห็นว่า การสอนแบบนิรนัยมีข้อดีและข้อจำกัด คือ

              ข้อดี
            1. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริง
              2. วิธีสอนแบบนี้ง่ายในการอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจ  และสามารถนำไปใช้ได้

              ข้อจำกัด
            1. ผู้เรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง  เพราะผู้สอนเป็นผู้บอกให้
              2. เป็นการสอนที่ไม่ให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดมากนัก  เพราะผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดให้
              จากทั้งหมดที่กล่าวมา การสอนโดยใช้การนิรนัยมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด  ซึ่งมีความสำคัญด้วยกันทั้ง  จึงสรุปได้ว่า  ข้อดีของการสอนโดยใช้การนิรนัย มีดังนี้
1. เป็นการสอนที่เหมาะกับเนื้อหาที่เป็นกฎเกณฑ์  สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้
ง่าย
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  เข้าใจหลักการและทฤษฎี  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
4. เป็นวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5. ผู้สอนไม่ต้องใช้เทคนิคในการสอนมาก

ส่วนข้อจำกัดของการสอนโดยใช้การนิรนัย มีดังนี้
1. ผู้สอนต้องเตรียมตัวในการเรียนการสอน ค่อนข้างจะยุ่งยาก
2. เป็นวิธีสอนที่ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้  และคุณค่าทางอารมณ์
3. เป็นวิธีสอนที่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีของผู้เรียนแต่ละคน
4. ผู้เรียนไม่ได้แสดงความคิดรวบยอดเป็นของตนเอง เพราะผู้สอนบอกให้
5. ไม่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดมากนัก


       http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/การสอนแบบนิรนัย ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบนิรนัยไว้ว่า การสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) ความหมาย วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎ หรือ หลักการต่างๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน
ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย : ให้นักเรียนรู้จักกฎ สูตร และหลักเกณฑ์ต่างๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
  1. ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ (เช่น เราจะหาพื้นที่ของวงกลมอย่างไร) ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
  2. ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมาอธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
  3. ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
  4. ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบเป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือ นิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์เป็นความจริงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
  1. วิธีสอนแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่ายๆ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี และเป็นวิธีที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัย
  2. ฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อจำกัด
  1. วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์
  2. เป็นการสอนที่นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะครูกำหนดความคิดรวบยอดให้


http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121813/innovation/index.php/2014-02-07-04-58-39 ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบนิรนัยไว้ว่า
ความหมาย
วิธีการสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎหรือหลักการต่างๆ แล้วให้นักเรียนหา หลักการต่างๆแล้วให้นักเรียนหาหลักเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย
ให้ นักเรียนรู้จักใช้กฎ สูตร และ หลักเกณฑ์ต่างๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริง

ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
       1.ขั้น อธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ไขปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับ สถานการณ์จริงและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก

        2.ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยาม มากกว่าหนึ่งอย่าง มาอธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา

       3.ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยามที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา

       4.ขั้น พิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือนิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆและจากการทดลองข้อสรุปที่ได้ พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย
      ตัวอย่างที่ 1
            เหตุ 1.  จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย2ลงตัว
                     2. 6 หาร 2 ลงตัว 
             ผล   6 เป็นจำนวนคู่
      ตัวอย่างที่ 2
            เหตุ1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลือดอุ่น
                   2. สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม

              ผล    สุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น  

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย









สรุป
        การสอนแบบนิรนัย หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงหลักการหรือทฤษฎีโดยทั่วไปก่อนที่ผู้สอนจะให้รายละเอียดหรือยกตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงหลักการนั้นๆ  นั่นคือเป็นวิธีสอนจากส่วนรวมไปสู่ส่วนย่อย
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
       1.ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ไขปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับ สถานการณ์จริงและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
       2.ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยาม มากกว่าหนึ่งอย่าง มาอธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
       3.ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยามที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
       4.ขั้น พิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือนิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆและจากการทดลองข้อสรุปที่ได้ พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
       

ที่มา
http://skruteachingmethods.blogspot.com/p/blog-page_22.html. [ออนไลน์].
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121813/innovation/index.php/2014-02-07-04-58-39. 
      [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.
http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/การสอนแบบนิรนัย. [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

        https://mrmeestudio.com/ สื่อการสอนคืออะไร / ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า สื่อการสอนคืออุปกรณ์ วัสดุและวิธีการสื่อ ถ่ายท...