วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)

มาลิณี  จุโฑประมา  (2554: 69-80)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ว่า กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกหรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มีดังนี้
1 . ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
        ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค หรือการตอบสนองที่ถูกกระตุ้น โดยสิ่งเร้าที่ปรากฏชัดเจนในสถานการณ์การเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่สำคัญในทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov) เป็นผู้ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้ทฤษฎีของพาฟลอฟเชื่อว่าสิ่งเร้า (Stimulus) ที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้ง สิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้นๆต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นที่เป็นผลของการเรียนรู้ (กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. 2550)
สิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วยการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข หรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นซึ่งในธรรมชาติ หรือในชีวิตประจำวัน จะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย เช่น เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง ตามปกติแล้วน้ำลายจะไม่ไหล แต่หลังจากวางเงื่อนไขแล้วน้ำลายจะไหล เสียงกระดิ่งจึงเป็นสิ่งที่เร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
การทดลองของพาฟลอฟ
พาฟลอฟ ทดลองกับสุนัข โดยผูกสุนัขที่กำลังหิวไว้ในห้องทดลอง เขาผ่าตัดข้างแก้มสุนัขตรงต่อมน้ำลาย แล้วต่อสายยางเพื่อให้น้ำลายสายยางสู่เครื่องวัด เขาทำการทดลองโดยการสั่นกระดิ่งแล้วเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัข ทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง ตามปกติสุนัขจะหลั่งน้ำลายเมื่อมีผงเนื้อในปาก แต่เมื่อนำผงเนื้อมาคู่กับกระดิ่งพียงไม่กี่ครั้ง เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้แสดงว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว  เดิมทีสุนัขไม่ได้หลั่งน้ำลายเมื่อได้ยอนเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อนำเสียงกระดิ่งไปคู่กับผงเนื้อ สุนัขก็หลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งโดยไม่มีผงเนื้อ


ชัยพร วิชชาวุธ (2545)  สรุปผลการทดลองของพาฟลอฟ พบว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ควรเริ่มจากการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขก่อน แล้วจึงเสนอสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการตอบสนองที่แตกต่างกัน ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้งหมายถึงการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายๆสิ่ง การตอบสนองก็จะมีกำลังอ่อนลงมายิ่งขึ้น
สรุปหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟได้ดังนี้
1. การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรมการตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าให้ร่างกายได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียวหรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น การลบพฤติกรรมมิใช่การลืม เป็นเพียงการลดลงเรื่อยๆซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการ การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2. การฟื้นคืนสภาพการตอบสนองจากการวางเงื่อนไข หมายถึง การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CS) ที่ลดลง เพราะได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียวจะกลับปรากฏขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้นๆ ถ้าผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างแท้จริง เช่น การที่สุนัขน้ำลายไหลอีกได้เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีผงเนื้อมาเข้าคู่กับเสียงกระดิ่ง
3.  การสรุปความเหมือน ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เป็นลักษณะที่ผู้เรียนไม่สามารถจะจำแนกสิ่งที่เรียนรู้ได้ เนื่องจากสิ่งที่เรียนรู้นั้นมีลักษณะคล้ายกับกับสิ่งเร้าที่เคยวางเงื่อนไขไว้ เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้ว เมื่อสุนัขนั้นได้ยินเสียงระฆัง หรือเสียงฉาบ จะมีอาการน้ำลายไหลทันที
4. การจำแนกความแตกต่าง ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการ ตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้นเป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถจำแนกสิ่งที่แตกต่างกันได้ เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากเสียงกระดิ่งแล้ว เมื่อได้ยินเสียงแตร หรือเสียงประทัด จะไม่มีอาการน้ำลายไหล

2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning) ซึ่งวัตสัน (Watson) ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอิบายเรื่องการเรียนรู้ทำให้ทฤษฎีการเรียนรู้พาฟลอฟเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง วัตสันเป็นผู้ตั้งศัพท์คำว่าพฤติกรรมนิยม” (Behaviorism) เพราะเขาเห็นว่า จิตวิทยา ซึ่งจะถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น จะต้องศึกษาพฤติกรรมเฉพาะในสิ่งที่สังเกตได้อย่างเด่นชัด เขามีความเห็นว่าการศึกษาทางจิตวิทยา ควรเป็นการศึกษาสิ่งที่เป็นปรนัย (Objective) ไม่ใช้เป็นอัตนัย (Subjective) ซึ่งเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของคน ผลงานของวัตสันรับความนิยมแพร่หลาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (อารี พันธ์มณี. 2544)
การทดลองของวัตสัน วัตสันได้นำเรื่องการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟไปใช้กับคน โดยการทำการทดลองกับเด็กชายอายุ 11 เดือน ชื่อว่าอัลเบิร์ต โดยเขาให้ข้องสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกระทันหันและจะไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู กระต่าย วัตสัน วัตสันดำเนินการทดลองโดยปล่อยเด็กอัลเบิร์ตเล่นกับหนูขาว พร้อมกับของเล่นต่างๆที่ทำด้วยขนปุกปุยคล้ายขนสัตว์ ต่อมาก็ได้นำหนูขาวกลับมาให้เล่นอีกขณะที่เด็กเอื้อมมือจะไปจับหนูดังที่เคยกระทำ วัตสันจะวางเงื่อนไขโดยการทำเสียงดังด้วยการตีแผ่นเหล็กอย่างแรง อัลเบิร์ตตกใจกลัวและร้องไห้ ผู้ทดลองทำเช่นนี้หลายๆครั้ง ในที่สุดเพียงแต่อัลเบิร์ตเห็นหนูขาวก็เกิดความกลัว และร้องไห้ถึงแม้ว่าจะไม่มีเสียงดังแล้วก็ตาม
จากการทดลองดังกล่าวปรากฏว่า อัลเบิร์ตไม่กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์ที่มีขนทุกชนิด รวมทั้งของเล่น หรือเสื้อผ้าที่มีขนคล้ายสัตว์นั้นด้วย วัตสันยังทำการทดลองต่อมาอีก เพื่อพยายามลบพฤติกรรมการกลัว คือ ทำให้เด็กหายกลัว การพยายามในการทดลองเพื่อขจัดพฤติกรรมนี้ วัตสันใช้วิธีงดตัวเสริมกำลัง (เสียงดัง) ทำให้สภาพเสียงดังน่ากลัวนั้นหมดไป แล้ววางเงื่อนไขย้อนกลับอีกต่อหนึ่ง (Backward Conditioning) คือ เมื่อนำหนูขาวมาให้เด็กอีกก็จะให้สิ่งอื่นที่เด็กเกิดความพอใจด้วย เช่น ให้เด็กกินนมและให้เกิดความอบอุ่น ปลอดภัยโดยให้อยู่ในอ้อมแขนของแม่ ในที่สุดวัตสันก็สามารถใช้การวางเงื่อนไขแบบย้อนกลับนี้ทำให้อัลเบิร์ตหายกลัวหนูและของเล่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ จากความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัตทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถวางเงื่อนไขควบคุมพฤติกรรมของบุคคลได้ สำหรับหลักการวางเงื่อนไขของวัตสันก็มีลักษณะเช่นเดียวกับของพาฟลอฟดังกล่าวมาแล้ว
3. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันมีความคิดว่าพฤติกรรมของอินทรีย์จะเกิดขึ้นเพราะอินทรีย์เป็นผู้กระทำหรือส่งออก (Emit) มากกว่าเกิดขึ้นเพราะถูกสิ่งเร้าดึงให้ออกมา พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า ตามคำอธิบานของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่าพฤติกรรมว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ     สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน  พฤติกรรม  และผลที่ได้รับ
4. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

      ธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง โดยเขาได้ชื่อว่าเป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้คนแรกของอเมริกาและบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษาธอร์นไดค์ ได้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) ทั้งนี้เพราะ เขาถือว่าการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เพราะเมื่อผู้เรียนพบปัญหา เขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก Trial and Error นั่นคือ ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้
การทดลองของธอร์นไดค์
ธอร์นไดค์ทดลอกับแมว โดยสร้างกรงปัญหา (Puzzle Box) ซึ่งทำด้วยไม้ และมีประตูกลเขาจับแมวที่อดอาหารจนหิวใส่กรงปัญหา และปิดประตูกลให้เรียบร้อย โดยการวางจานอาหารไว้นอกกรงให้แมวเห็น แต่ในระยะที่แมวเขี่ยไม่ถึง สถานการณ์เหล่านี้เป็นการสร้างปัญหา เพื่อให้แมวหาทางออก มากินอาหารให้ได้      ธอร์นไดค์ใช้เวลา 5 วันในการทดลองโดยแบ่งเป็นช่วงเช้าและบ่าย วันละ 20 ครั้ง รวมทั้ง 100 ครั้ง และเมื่อทดลองครบ 10 ครั้ง แมวจะได้กินอาหารและหยุดพัก
ผลการทดลองพบว่าในการทดลองครั้งแรก แมวพยายามแสดงอาการตอบสนองอย่างเดาสุ่มหลายๆอย่าง เช่น ส่งเสียงร้อง ตะกุยกรง ใช้ฟันกัด ใช้เท้าเขี่ยประตู และอีกหลายๆอย่าง จนกระทั่งบังเอิญไปเหยียบแผ่นไม้ ซึ่งมีเชือกดึงสปริงทำให้ถอดสลักประตูกรง แมวจึงออกมากินอาหารตามต้องการได้ ในการทดลองครั้งต่อมาแมวค่อยๆลดการตอบสนองที่ห่างไกลความจริงในการแก้ปัญหาทีละน้อยและใช้เวลาในการหาทางออกจากกรงน้อยลงๆ จนเมื่อการทดลองผ่านไปหลายสิบครั้งแมวก็สามารถเปิดประตูกรงได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาอีก แสดงว่าแมวเกิดการเรียนรู้ในการที่จะออกจากกรง โดยการไปเหยียบแผ่นไม้แล้วประตูจึงเปิด เป็นการมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างแผ่นไม้กับการเปิดประตู ธอร์นไดค์จึงสรุปว่า การเรียนรู้ของแมวมีลักษณะลองผิด ลองถูก” (Trial and Error) มิใช่เนื่องมาจากสติปัญญา


สยุมพร  ศรีมุงคุณ  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   “พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
1.  ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)
มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
2.  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้
1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
3.  ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน


สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดี-ไม่เลว(neutral-passive)การกระทำต่าง ๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดเเละทดสอบได้ด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
1.  ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)
มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูก
2.  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้
คือทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย4 ทฤษฏี ดังนี้
      1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ(Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
       2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
       3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
       4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน
3.  ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) 
 มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด 

ที่มา
มาลิณี  จุโฑปะมา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology. บุรีรัมย์
      เรวัตการพิมพ์.
สยุมพร  ศรีมุงคุณ.  [ออนไลน์]
       http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm. ทฤษฎีเกี่ยวกับการ
เรียนรู้.  เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561
ชัยพร วิชชาวุธ. (2545). [ออนไลน์].  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561.

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

ทิศนา แขมมณี (2553: 48-50)  ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดไว้ดังนี้
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Appereption หรือ Herbartianism) 
          1. นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ  จอห์น ล็อค (John Locke)  วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชชเนอร์ (Titchener)  และแฮร์บาร์ต  (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้ (Bigge , 1964 : 33-47)
          2. มนุษย์เกิดมาไม่มีความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
          3. จอห์น ล็อค  เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตและสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
          4.  เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling)  คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
          5. ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จิตนาการ (imagination)
          6. แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory charcterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)  การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์ หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆเมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์ความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (appercetion)
          7. แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่

สยุมพร  ศรีมุงคุณ ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)ไว้ว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

เลิศชาย ปานมุข  ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)ไว้ว่า   การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส


สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การส่งเสริมให้บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) มากๆในหลายๆทาง จะช่วยเกิดการเรียนรู้ คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัด
          กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12).  กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
สยุมพร  ศรีมุงคุณ.  [ออนไลน์].  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.  เข้าถึงเมื่อ 15 
          กรกฎาคม 2561.
เลิศชาย ปานมุข.  [ออนไลน์].  ทฤษฎีการเรียนรู้.  เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 
          2561.


สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

        https://mrmeestudio.com/ สื่อการสอนคืออะไร / ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า สื่อการสอนคืออุปกรณ์ วัสดุและวิธีการสื่อ ถ่ายท...