วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

       https://mrmeestudio.com/สื่อการสอนคืออะไร/ ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า สื่อการสอนคืออุปกรณ์ วัสดุและวิธีการสื่อ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้อื่นเพื่อความเข้าใจง่ายและความสะดวกสบายมากขึ้น อย่างที่เราๆเคยเห็นกันมา ตัวอย่างเช่นกระดานไวท์บอร์ดหรือกระดานดำก็ถือว่าใช่ แม้แต่หนังสือเรียน ชีทต่างๆ ก็ถือว่าเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่ง จากนี้เราจะมาจำแนกประเภทกันอย่างง่ายๆ
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
       1.สื่อประเภทวัสดุ ซึ่งได้แก่ สไลด์ ซีท หนังสือเรียน สิ่งพิมพ์ต่างๆ
       2.สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ หุ่นจำลอง ลูกโลก กระดาน เครื่องเล่นเสียง โทรทัศน์ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติงาน การเสนองานหน้าชั้น การจัดนิทรรศการ
       4.สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน พรีเซนต์ แอนิเมชั่น การ์ตูน แอพลิเคชั่นหรือเกมส์ร่วมถึงการใช้อินเตอร์เน็ต
       ในปัจจุบันรูปแบบสื่อการสอนก็เริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคสมัย การใช้กระดานดำและไวท์บอร์ดเริ่มลดน้อยลงเปลี่ยนมาใช้การนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์(presentation) แทนซึ่งก็สะดวกสบายและสื่อสารกันได้ง่ายกว่า ในบางองค์กรหรือโรงเรียนก็อาจจะแจกไฟล์กันทางอีเมล์เพื่อให้กลับไปศึกษาต่อที่บ้านเองได้อีกด้วย

สื่อการสอนที่ดีเป็นอย่างไร?
       สื่อการสอนที่ดีต้องทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่ยิ่งทำให้งงกันเข้าไปใหญ่ อย่างเช่นการสอนภาษาอังกฤษให้คนที่ไม่รู้อะไรเลยก็ต้องทำให้ผู้รับสารเข้าใจและเกิดความรู้สึกสบายใจที่จะรับความรู้นั้น ซึ่งในปัจจุบันเด็กๆมีความสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ยังคงชอบสีสันสดใสเช่นเดิม การทำสื่อการสอนจึงควรประยุกต์ให้เข้ากับความชอบของเด็กและดึงดูดความสนใจอีกด้วย แต่หากเป็นวัยที่อายุมากขึ้นก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามอายุไปด้วยเช่นกัน
หลักเกณฑ์การเลือกใช้สื่อการสอน
       1.สื่อนั้นต้องตรงกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร ไม่นอกเรื่องและดึงความสนใจ
       2. มีเนื้อหาที่ถูกต้อง ทันสมัย ไม่ใช่เนื้อหาเก่าเกินไป ต้องไม่ให้ผู้รับสารสับสนและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
       3.เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนรู้และระดับการศึกษา ซึ่งในช่วงอายุต่างกันก็มีความสนใจต่างกันจึงต้องมีสิ่งชักจูงจิตใจที่แตกต่างกันด้วย
      4.สะดวกในการใช้งาน ไม่ยุ่งยากในการใช้มากเกินไป
       5.เป็นสื่อที่มีคุณภาพดี หมายถึงสื่อนั้นต้องใช้ได้จริงๆ ไม่แฮงค์หรือมีความผิดพลาดไประหว่างทางสอนหรือการใช้งานหากเป็นสื่อการสอนประเภทมีเดียต่างๆ

ประโยชน์ของสื่อการสอน
ต่อผู้รับสาร
       ผู้รับสารสามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย ไม่เกิดความงุนงงจากบทเรียนนั้นๆและมีความสนใจที่จะศึกษา ซึ่งหากผู้รับสารมีความเข้าใจก็ถือว่าสื่อการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ และหากมีผู้รับสารที่เข้าใจในบทเรียนมากขึ้นเรื่อยๆก็ถือว่าเพิ่มคุณภาพคนในประเทศมากขึ้นอีกด้วย
ต่อผู้สอน
       ผู้สอนเองก็ได้รับผลดีเช่นกันเพราะได้ทบทวนบทเรียนไปเองด้วยและยังช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัวตลอดเวลาเพราะต้องคอยตอบคำถามเพิ่มเติมจากสื่อนั้น หากสอนด้วยปากเปล่าบางครั้งก็จะเกิดความน่าเบื่อและหมางเมินกันไป สื่อการสอนยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนอีกด้วย
สุดท้าย การใช้สื่อการสอนนั้นมีแต่ผลดีหากเลือกใช้ให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ทำเองหรือจากเว็บรับทำสื่อการสอนก็ไม่ผิดอะไร สิ่งที่สำคัญคือเนื้อหาความรู้และคนที่ได้รับการถ่ายทอดได้รับความรู้เต็มที่หรือไม่ แต่ถ้าสื่อการสอนดีแล้วเด็กยังไม่ตั้งใจเรียนอีก ผู้สอนก็คงต้องเคี่ยวเข็ญสักนิดเพื่อกระตุ้นความอยากเสียหน่อย


       กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ  (http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html)ได้รวบรวมและกล่าวถึงสื่อการสอนไว้ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมายชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกันเรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
                A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
                Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University)ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร"Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร


       ยุพิน พิพิธกุล (http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
          1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
          2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
          3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
          4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
          5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น


สรุป
       สื่อการสอนคืออุปกรณ์ วัสดุและวิธีการสื่อ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้อื่นเพื่อความเข้าใจง่ายและความสะดวกสบายมากขึ้น อย่างที่เราๆเคยเห็นกันมา ตัวอย่างเช่นกระดานไวท์บอร์ดหรือกระดานดำก็ถือว่าใช่ แม้แต่หนังสือเรียน ชีทต่างๆ ก็ถือว่าเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่ง จากนี้เราจะมาจำแนกประเภทกันอย่างง่ายๆ
       ประเภทของสื่อการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ
       2.สื่อประเภทอุปกรณ์
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
       4.สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ 


ที่มา
https://mrmeestudio.com/สื่อการสอนคืออะไร/. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยาน ..2561.
กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ. (2558). http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html.
       [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยาน ..2561.
ยุพิน พิพิธกุล.  (2557).  http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยาน ..2561.

นวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

       ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า Innovare แปลว่าทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
       โทมัส ฮิวส์Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่าเป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
       สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ(2553) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม หมายถึงสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักกษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
        สรุป นวัตกรรม คือสิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ

องค์ประกอบของนวัตกรรม
       จากประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยาม  องค์ประกอบที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ
       1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้(Utterback,1971,1994,2004 ; Tushman and Nadler,1986;freeman & Soete,1997;Betje,1998;Herkma,2003;Schilling,2008)
       2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้  (Utterback,1971,1994.2004;Drucker,1985,1993;Damanpour,1987;Smits,2002;DTI 2004)
       3.  การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ  การทำซ้ำ เป็นต้น (Evan,1966; Drucker,1985,1993; Rogers,1995; Perez-Bustamante,1999; Smits,2002; Herkema,2003; Lemon and Sahota,2003; DTI,2004; Schilling,2008)

กระบวนการนวัตกรรม
       กระบวนการนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ หลายประการ
       1. การค้นหา(Searching)
       เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
       2. การเลือกสรร(Selecting)
       เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความาสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
       3. การนำไปปฏิบัติ( Implementing)
เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ประการ ดังนี้
       3.1 การรับ (Acquring)
       คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา(R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
       3.2 การปฏิบัติ(Executing)
       คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ตลอดเวลา
       3.3 การนำเสนอ (Launching)
       คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป้ฯระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
       3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining)
       คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้น ๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถึกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
       4. การเรียนรู้( Learning)
       เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข้งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น


       นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ      “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
          ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา
          องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
ชั้นตอนของนวัตกรรม  
1.การคิดค้น (Invention)  เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม
2.การพัฒนา ( Development)  เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข
3.ขั้นนำไปใช้จริง(Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
4.ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย


       https://paigehr.wordpress.com/2017/03/18/นวัตกรรม-innovation-คืออะไร/ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า หลายๆท่านมีความเข้าใจและตีความหมายของคําว่านวัตกรรมหรือ “Innovation” ที่แตกต่างกันออกไป
บางองค์กรกลัวและไม่กล้าที่จะเปิดรับเอา Innovation เข้ามาใช้ในการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่ตัวองค์กรมีอยู่ เพราะยังไม่เข้าใจความหมายของคําว่านวัตกรรมอย่างแท้จริงการนํา Innovation เข้ามาใช้นั้น ก็เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เสนอความคิดสร้างสรรค์ทั้งในด้านกระบวนการทํางาน แนวคิดการพัฒนา และสินค้าและบริการอย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้ความหมายหรือนิยามคําว่านวัตกรรมหรือ “Innovation” ดังนี้
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย
Ref: Mrs. Singchoo
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า
นวัตกรรม คือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุ
ใหม่ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคน หรือหน่วยอื่น
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ
ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
นวัตกรรม (Innovation) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
สรุปได้ว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ที่มีอยู่และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ เพื่อเป็นโอกาสในการพัฒนา ต่อยอด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์กร


สรุป
       นวัตกรรม คือสิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ
       องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้


ที่มา
ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/541406. [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/492060. [ออนไลน์].
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ..2561.

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

        https://mrmeestudio.com/ สื่อการสอนคืออะไร / ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า สื่อการสอนคืออุปกรณ์ วัสดุและวิธีการสื่อ ถ่ายท...